ยุทธศาสตร์/แผนงาน

แผนการขับเคลื่อนหน่วยงาน

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

ยุทธศาสตร์ที่ 1  การขจัดความยากจน

 เป้าประสงค์

1. พัฒนาส่งเสริมรายได้เฉลี่ยให้มีอัตราที่สูงขึ้นและมีมาตรฐาน

2. ส่งเสริมอาชีพ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพต่างๆ ส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่

3. ส่งเสริมให้มีมาตรการทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพ และผลผลิตทางการเกษตร

4. ส่งเสริมการจ้างแรงงานและการสร้างอาชีพ

5. ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาความยากจนตามนโยบายของรัฐ

ตัวชี้วัด

1. ประชาชนมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น

2. ประชาชนมีอาชีพในการดำรงชีวิต

3. ประชาชนมีการประกอบอาชีพในด้านเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่

4. กลุ่มอาชีพมีการสนับสนุนด้านการผลิตภัณฑ์

ค่าเป้าหมาย

1. จำนวนรายได้ของประชาชนที่เพิ่มขึ้น

2. จำนวนอาชีพและผลิตภัณฑ์มีจำนวนที่เพิ่มขึ้น

3. การเพิ่มขึ้นของเกษตรกรในด้านการประกอบอาชีพทางเศรษฐกิจพอเพียง

4. การเพิ่มขึ้นของการจ้างแรงงานและอาชีพ

5. ปัญหาความยากจนที่เกิดมีจำนวนลดลง

กลยุทธ์

1. ส่งเสริมประชาชนในทุกๆด้าน เพื่อให้มีรายได้และปราศจากความยากจนอันเกิดจากการไร้อาชีพ ทำให้ขาดรายได้

2. ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มอาชีพในเขตเทศบาลตำบลป่าก่อดำ ให้มีความเข็มแข็ง และมีมาตรฐานด้านผลิตภัณฑ์

3. ส่งเสริมกิจกรรมของกลุ่มอาชีพในการดำเนินงานทั้งภายในและภายนอก

4. สนับสนุนด้านงบประมาณในการส่งเสริมให้ความรู้ด้านการประกอบอาชีพอย่างมั่นคง ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อการดำรงชีพแบบยั่งยืน

5. ส่งเสริมและสนับสนุนด้านบุคลากรในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพของประชาชนและกลุ่มอาชีพ

6. ส่งเสริมด้านการหาแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อเพิ่มรายได้จากสินค้า

 

 

ยุทธศาสตร์ที่ 2  การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ

เป้าประสงค์

1. พัฒนาระบบคมนาคมและระบบสาธารณูปโภค เพื่อให้เทศบาลตำบลป่าก่อดำ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่น่าอยู่

2. พัฒนาด้านการคมนาคมให้เชื่อมต่อทั่วทั้งเขตเทศบาลตำบลป่าก่อดำ

ตัวชี้วัด

1. ประชาชนได้รับความสะดวกสบายในด้านโครงสร้างพื้นฐาน

2. มีระบบสาธารณูปโภค ถนน และสะพาน ได้รับการก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม บำรุงรักษาให้ใช้งานได้ตามปกติ

ค่าเป้าหมาย

1. จำนวนการก่อสร้าง และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

2. จำนวนปริมาณการขยายเขตไฟฟ้า และไฟฟ้าสาธารณะ

3. จำนวนลดลงของอุบัติเหตุ

กลยุทธ์

1. พัฒนาและสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง และระบบการให้บริการประชาชน

2. พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีมาตรฐานเพื่อรองรับการขยายตัวในด้านการขนส่ง และระบบสาธารณูปโภค พัฒนาและปรับปรุงระบบการบริการด้านสาธารณูปโภคทั้ง ถนน ทางระบายน้ำ สะพาน ไฟฟ้าสาธารณะ โทรศัพท์ กิจการประปา ให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน และรองรับความเจริญก้าวหน้าของท้องถิ่นในอนาคต

3. พัฒนาเส้นทางการคมนาคมในชุมชน โดยก่อสร้างและปรับปรุงถนนที่ใช้ในการคมนาคม ขนส่ง สินค้า และผลผลิตทางการเกษตร ให้มีความสะดวก ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยและทั่วถึง

 

ยุทธศาสตร์ที่ 3  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สังคมและการเมือง

เป้าประสงค์

1. ส่งเสริมด้านการศึกษา

2. ส่งเสริมการศาสนา

3. ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

4. ส่งเสริมด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม

5. ส่งเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

6. ส่งเสริมด้านสาธารณสุข การกีฬาและนันทนาการ

7. ส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

8. ส่งเสริมการสังคมสงเคราะห์

9. ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาเด็กและสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม

10. พัฒนาความเท่าเทียมกันและคุณภาพชีวิตชุมชน

11. ส่งเสริมให้ประชาชนได้มีความรู้ และมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างสร้างสรรค์

ตัวชี้วัด

1. นักเรียนมีความพร้อมในด้านความรู้ และความสามารถในการประเมินจากหน่วยงาน

2. จำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนที่มีการเปลี่ยนแปลง

3. การเพิ่มขึ้นของประชาชน ในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา

4. การส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนาของเทศบาลตำบลป่าก่อดำ

5. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สงบสุข ปลอดจากอบายมุข และสิ่งเสพติด

6. ประชาชนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ในทุกมิติ และได้รับบริการทางการแพทย์ และสาธารณสุขที่มีคุณภาพ

7. ให้คนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ เป็นคนดี มีคุณภาพ มีศักยภาพ ความสามารถในการแข่งขัน และมีคุณธรรม จริยธรรม สู่สังคมฐานความรู้

8. ให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม มีการเชิดชูคุณค่าความเป็นไทย และวัฒนธรรมไทย บนความเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่ทำให้ชุมชน สังคม มีความสมานฉันท์ และ          สันติสุข และเรียนรู้วัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้านกลุ่มอาเซียน

ค่าเป้าหมาย

1. จำนวนนักเรียนที่ได้รับการศึกษา มีการพัฒนาที่ดีเพิ่มขึ้น

2. จำนวนเด็กและเยาวชนในตำบลมีศักยภาพด้านการศึกษา และสุขภาพที่ดี

3. จำนวนประชาชนและนักเรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทางศาสนา

4. ประชาชนมีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และได้เข้าถึงสวัสดิการทางสังคมที่ดีขึ้น

กลยุทธ์

1. การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพทุกระดับทั้งในและนอกระบบ คลอบคลุมทุกช่วงวัย ตลอดจนส่งเสริมทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ และภาษาประเทศเพื่อนบ้าน

2. ส่งเสริมค่านิยม จริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีงามแก่เด็กและเยาวชน และเรียนรู้วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศในอาเซียน

3. การส่งเสริมและสนับสนุน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การจัดการด้านสาธารณสุข การป้องกันและควบคุมโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย จิตใจ ให้ประชาชนมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ พัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก การแพทย์พื้นบ้าน และส่งเสริมสวัสดิการทางสังคม

4. การส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ให้ได้เข้าถึงสวัสดิการทางสังคม จากภาครัฐและเอกชน เช่น เบี้ยยังชีพ การเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสาร การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ

5. การส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬาสู่ความเป็นเลิศ และการกีฬาเพื่อการออกกำลังกาย

6. การส่งเสริมกิจกรรมของกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ กลุ่มอาชีพ กลุ่มองค์กรภาครัฐและเอกชน

 

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาเศรษฐกิจ

เป้าประสงค์

1. ส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร

2. ส่งเสริมแหล่งงานและสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว

3. ส่งเสริมกลุ่มอาชีพให้มีผลผลิตที่มีมาตรฐานสู่ระดับจังหวัด

4. พัฒนาเทศบาลตำบลป่าก่อดำให้เป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว

ตัวชี้วัด

1. ประชาชนมีรายรับเพิ่มขึ้น รายจ่ายลดลง

2. ประชาชนมีการรวมกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน

3. มีการขยายพื้นที่เศรษฐกิจในชุมชนมากขึ้น

4. มีกลุ่มอาชีพที่เพิ่มขึ้น และผลิตภัณฑ์ได้รับการส่งเสริม

5. มีการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ทุกๆด้าน (ด้านการสร้างผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์)

ค่าเป้าหมาย

1. ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น

2. ผลิตภัณฑ์ OTOP ตำบลมีขายตามท้องตลาด

3. กลุ่มอาชีพมีการบริหารจัดการที่ถูกต้อง

4. ผลผลิตทางการเกษตรมีเพิ่มขึ้นและได้ราคาดี

5. พื้นที่ทำการเกษตรมีผลผลิตเพิ่มขึ้น มูลค่าเพิ่มขึ้น และมีคุณภาพ

กลยุทธ์

1. พัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน และสินค้าการเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผลิต การออกแบบ การบรรจุภัณฑ์ และการตลาด

2. ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ และการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการประกอบอาชีพ

 

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

เป้าประสงค์

1. ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ และใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติอย่างอนุรักษ์

2. พัฒนาแหล่งน้ำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

3. ส่งเสริมการจัดการด้านขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และการบำบัดน้ำเสีย

4. กำหนดนโยบาย และวางแผนการบริหารจัดการน้ำอย่างมีระบบ

5. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เกิดจากธรรมชาติ และนอกเหนือภัยธรรมชาติ

 

ตัวชี้วัด

1. ระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้มีสภาพที่สมบูรณ์ และสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนรักสิ่งแวดล้อม

2. เพื่อความสมบูรณ์ของป่าไม้และความสมบูรณ์ของธรรมชาติ ไม่ให้ทำลายต้นไม้ไปมากกว่านี้ ปรับปรุงภูมิทัศน์หรือสวนหย่อม รวมทั้งเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในตำบล

3. มีการลดปริมาณขยะมูลฝอยที่จะดำเนินการกำจัดอย่างเป็นรูปธรรม

4. มีการกำหนดรูปแบบ วิธีการ การกำจัดขยะมูลฝอยอย่างชัดเจน

ค่าเป้าหมาย

1. จำนวนประชาชนที่มีส่วนร่วมสร้างจิตสำนึกที่ดี และมีความรักบ้านเกิดของตนเอง

2. จำนวนต้นไม้ที่มีการปลูกเพิ่มขึ้น

3. จำนวนแหล่งน้ำที่ได้รับการปรับปรุง

4. จำนวนครอบครัวที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล

5. จำนวนหมู่บ้านไม่มีน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น

6. จำนวนหมู่บ้านที่มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เป็นหมู่บ้านน่าอยู่

7. ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

กลยุทธ์

1. อนุรักษ์ ฟื้นฟู และเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ด้านระบบนิเวศ และการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

2. พัฒนาฟื้นฟูแหล่งน้ำ และการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ

3. พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพดินให้อุดมสมบูรณ์

4. เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะชุมชน สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย

 

ยุทธศาสตร์ที่ 6 ส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

เป้าประสงค์

1. ปรับปรุงระบบการให้บริการประชาชน ให้ได้รับความสะดวกรวดเร็ว และเป็นธรรม

2. พัฒนางานบริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

3. ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน

4. พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ

5. พัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ และการบริหารจัดการองค์กร

6. ส่งเสริมการรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง

7. ส่งเสริมและสนับสนุน อปพร. และตำรวจบ้าน ให้มีรถตรวจการณ์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่

8. ส่งเสริมระบบเครือข่าย อปพร. และตำรวจบ้านในแต่ละชุมชน

9. ส่งเสริมการฝึกทบทวนความรู้ การเพิ่มทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งสนับสนุนสวัสดิการให้แก่เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อปพร. และตำรวจบ้าน

 

ตัวชี้วัด

1. ประชาชนมีความพึงพอใจในการบริการภาครัฐ

2. ประชาชนมีส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น

3. ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งในการพัฒนา และบริหารจัดการปัญหาท้องถิ่น

4. ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรต่างๆ และประชาชนมีความรู้ต่างๆ

ค่าเป้าหมาย

1. จำนวนผู้มีส่วนร่วมตามกระบวนการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

2. ความพึงพอใจของประชาชนในการรับบริการ

3. จำนวนบุคลากร และอุปกรณ์มีศักยภาพในการบริหารประชาชนเพิ่มขึ้น

4. ประชาชนในท้องถิ่นมีการเอื้อเฟื้อต่อกัน

5. จำนวนหมู่บ้านในการบริหาร และการจัดระเบียบชุมชนที่ดี

กลยุทธ์

1. การพัฒนาขีดความสามารถการทำงานของบุคลากร และพัฒนาขีดความสามารถด้านการแข่งขัน

2. การพัฒนาด้านเครื่องมือเครื่องใช้ให้มีความทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์

3. การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ และนวัตกรรมในการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

4. การพัฒนาระบบบริหารจัดการการเงิน การคลัง และงบประมาณ

5. การเสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ